โรงเรียนวัดบ้านชุ้ง(อดุลประชาวิทย์) ยินดีต้อนรับ

ประวัติโรงเรียน


ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนวัดบ้านชุ้ง(อดุลประชาวิทย์)เป็นโรงเรียนประชาบาลชนิดนายอำเภอจัดตั้งโดยรองอำมาตย์โทชุบ กลิ่นสุคนธ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.. ๒๔๗๒ ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาพุทธศักราช ๒๔๖๔โดยเก็บเงินศึกษาพลีมาร่วมในการดำรงโรงเรียนและอาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านชุ้งเป็นสถานที่เล่าเรียน เปิดสอนวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.. ๒๔๗๒ โดยมีการบำเพ็ญกุศลตามศาสนา โดยมีรองอำมาตย์โทชุบ  กลิ่นสุคนธ์   นายอำเภอนครหลวงเป็นประธาน พร้อมด้วยนายผิว  ศริ ศึกษาธิการอำเภอนครหลวง  นายบ่าย  สุภัคคะ สารวัตรศึกษา นายลับ  สุคันธจันทร์ กำนันตำบลบ้านชุ้ง และประชาชนได้พร้อมใจกันขนานนามโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านชุ้ง (วัดบ้านชุ้ง)
วันแรกของการเปิดเรียนผู้ปกครองนำเด็กมาเข้าเรียนจำนวน   ๕๔  คน โดยแบ่งชั้นเรียนออกเป็น ๓ ชั้นเรียน มีนายสาหร่าย  มณีนุ่ม เป็นครูใหญ่ ต่อมานักเรียนได้เพิ่มจำนวนขึ้นทุก ๆ ปี   ในปี  .๒๔๙๐ ปรากฏว่ามีจำนวนนักเรียนมากถึง  ๓๐๐  คนเศษ  ศาลาการเปรียญซึ่งเป็นสถานที่เล่าเรียนไม่สามารถบรรจุนักเรียนได้หมด  ต้องแยกไปสอนที่วิหารหลวงพ่อปลอด ซึ่งอยู่ทางด้านใต้ของศาลาการเปรียญอีกหนึ่งชั้นเรียน   ต่อมาศาลาการเปรียญได้ชำรุดหลังคารั่วแทบทั้งหลัง  ตอนหน้าฝนและตอนมีงานบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ โรงเรียนต้องปิดเรียน จึงเป็นปัญหาต่อการเรียนอย่างยิ่ง
          .. ๒๔๙๖  พระครูอดุลธรรมประกาศ เจ้าอาวาสวัดบ้านชุ้ง   คณะครู   ประชาชน เห็นความจำเป็นของการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ร่วมมือกันก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๒พิเศษ เป็นอาคารไม้สองชั้น มี ๑๐ห้องเรียน ห้องพิเศษ ๒ห้อง ก่อสร้างเรียบร้อยเมื่อ พ.. ๒๔๙๙ สิ้นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๒๕๗,๔๐๐  บาท เป็นเงินงบประมาณ ๒๐๔,๕๓๙ บาท ประชาชนสมทบ ๔๙,๒๖๑ บาท อาคารหลังนี้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.. ๒๔๙๙ โดยพลอากาศเอกหลวงเชิด วุธากาศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานและได้ขนานนามโรงเรียนนี้ว่าโรงเรียนวัดบ้านชุ้ง(อดุลประชาวิทย์)” เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ 
          .. ๒๕๐๖ ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น ๗ ปี มีนักเรียนมาเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๔๙ คน และในปีต่อ ๆ มามีนักเรียนเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
          .. ๒๕๑๑  มีนักเรียนถึง  ๑๔  ห้องเรียน ห้องเรียนมีไม่พอเพียงจึงต้องอาศัยศาลาการเปรียญของวัดบ้านชุ้ง อีก  ๑ ห้องเรียน
          .. ๒๕๑๒  คณะกรรมการศึกษา ครู พร้อมด้วยประชาชน เห็นอุปสรรคความขาดแคลนอาคารเรียนจึงพร้อมใจกันหาเงินสร้างอาคารเรียน  แบบ ป.๑ ฉ  ขึ้นอีก    หลัง โดยจัดทอดกฐินสามัคคีกรุงเทพ ฯนครหลวง  นำโดยนางสาวระเบียบ  เพ่งสุข  เป็นประธาน เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๑๒ ได้เงินสมทบ ๕๐,๐๐๐ บาท งบประมาณจากทางราชการ ๑๒๐,๐๐๐  บาท ใช้เงินก่อสร้างอาคาร ๑๖๐,๐๐๐ บาท เหลือเงินอีก ๑๐,๐๐๐ บาท นำไปสร้างโรงอาหารของโรงเรียน  และเมื่อวันที่ ๔  กรกฎาคม  .. ๒๕๑๓ ได้เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีธรรมดาเป็นสังกะสีสีเขียว   โดยใช้เงินบริจาคจากประชาชน จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท รวมราคาค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๙๐,๐๐๐ บาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน  .. ๒๕๑๓ ได้รับอนุมัติจากทางราชการขนานนามอาคารหลังนี้ว่า อาคารกฐินสามัคคีกรุงเทพ ฯนครหลวง ปี พ.. ๒๕๑๒ ” 
                วันที่ ๑ ธันวาคม พ.. ๒๕๑๓  เริ่มสร้างโรงอาหารขนาดกว้าง ๙ เมตร  ยาว ๑๖ เมตร โดยใช้เงินกฐินสามัคคีกรุงเทพ ฯนครหลวง ที่เหลือจากการสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ฉ จำนวน ๑๕,๓๑๘ บาท  ประชาชนร่วมบริจาคอีก  ,๔๔๐  บาท  รวมเป็นเงิน  ๑๙,๗๕๘  บาท  ดำเนินการก่อสร้างโดยนายอ่อน  ช่วยพยุง  กำนันตำบลบ้านชุ้ง
                .. ๒๕๑๕    นายวรวิทย์  รังสิโยทัย   ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้อนุมัติงบประมาณ       ทำการก่อสร้างต่อเติมโรงอาหารอีก ๑ ห้อง  กว้าง ๙ เมตร ยาว ๔  เมตร  พร้อมทั้งตีฝาและทำพื้น คสล. ฟุตบาธ  รวม เป็นเงิน ๔,00 บาท  เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่  ๑๑ สิงหาคม  .๒๕๑๕  แล้วเสร็จเมื่อวันที่  ๙ ตุลาคม  .๒๕๑๕
                .๒๕๑๖  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  แบบ  ๐๐๘  จำนวน    หลัง  ๑๐  ห้องเรียน     ห้องพิเศษ  กว้าง  ๑๑.๕๐  เมตร  ยาว  ๙๐  เมตร  ใต้ถุนสูง  .๕๐  เมตร  งบประมาณก่อสร้าง  ๔๙๕,๐๐๐  บาท  เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่  ๑๔ มกราคม  .๒๕๑๖  เมื่อแล้วเสร็จได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน  .. ๒๕๑๗  โดยมีนายสมนึก  สงเคราะห์ธรรม    กำนันตำบลบ้านชุ้งเป็นประธาน
                .๒๕๑๙  สภาตำบลบ้านชุ้ง  ได้อนุมัติเงินโครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยเหลือให้ประชาชนมีงานทำ  (....)  ให้ต่อเติมโรงอาหารอีก    ห้อง  พร้อมยกพื้นเวที  งบประมาณ  ๖๔,๔๕๓  บาท
                .. ๒๕๒๑ แผนการศึกษาแห่งชาติได้ตัดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ ออก  เหลือภาคบังคับ ๖ ปี ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 
                .๒๕๒๕  สภาตำบลบ้านชุ้ง  ได้อนุมัติเงินตามโครงการสร้างงานในชนบท  (กสช.)  เทพื้น  คสลใต้ถุนอาคารเรียน  แบบ ๐๐๘  กว้าง  .๕๐  เมตร  ยาว  ๕๑  เมตร  เป็นเงิน  ๗๔,๖๑๙  บาท  ประชาชนบริจาคให้   เทพื้น  คสลเพิ่มเติมอีก  ,๐๐๐  บาท
                .๒๕๒๖  สภาตำบลบ้านชุ้ง  ได้อนุมัติเงิน กสชเทพื้น  คสลใต้ถุนอาคารเรียน  แบบ  ๐๐๘  อีก  ๕๒,๐๐๒  บาท  กว้าง  .๕๐ เมตร  ยาว  ๓๓  เมตร
                .๒๕๒๙ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้อนุมัติให้รื้นถอนอาคารเรียนแบบ  .  พิเศษ  และได้ดำเนินการรื้อถอนแล้วเสร็จเมื่อวันที่  ๒๔ เมษายน  .๒๕๒๙
                .๒๕๒๙ สร้างอาคารเพื่อดำเนินการสหกรณ์ในโรงเรียนขนาดกว้าง    เมตร  ยาว  .๒๕  เมตร  โดยใช้วัสดุที่รื้อถอนจากอาคารแบบ ป.  พิเศษ
                .๒๕๓๒  สร้างฐานแท้งน้ำ    แท้ง  กว้าง  .  เมตร  ยาว  .  เมตร  ยาว  .  เมตร  สูง  .  เมตร  วางแท้งน้ำได้    ใบ  แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๑  กรกฎาคม  .๒๕๓๒
                .๒๕๓๕  โรงเรียนได้เข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา  เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา  ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา  ๒๕๓๕  มีนักเรียนมาเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่    จำนวนทั้งสิ้น  ๒๐ คน
                .๒๕๓๕  ห้องเรียนไม่พอเพียงจึงต้องสร้างห้องเรียนสำรองขึ้นที่ใต้ถุนอาคารเรียน  แบบ  ๐๐๘  เพื่อรองรับการขยายโอกาสทางการศึกษา
                ..  2535  ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียน  แบบ ป 1   โดยเปลี่ยนเสา คสล. ทุกต้น  เปลี่ยนหลังคาสังกะสีเป็นกระเบื้อง  เปลี่ยนช่องลมเป็นเหล็กดัด  และได้รับงบประมาณเดินสายไฟภายในอาคารทุกอาคาร  พร้อมติดตั้งอุปกรณ์
                .๒๕๓๘  ได้รับอนุมัติรื้อถอนบ้านพักครูจำนวน    หลัง  เพราะชำรุดมากและไม่มีครูพักอาศัย  ซึ่งอาจเกิดอันตรายกับนักเรียนได้  ปรากฏว่าเนื้อไม้ต่าง ๆ  ชำรุดมากเพราะปลวกได้กัดกินเสียหายอย่างมาก
                .๒๕๔๒  ได้รับงบประมาณในการจัดถมดินสนามกีฬาและจัดซื้อคอมพิวเตอร์ จำนวน ๓  เครื่อง จากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชุ้ง
                .๒๕๔๓  สร้างรั้วบริเวณโรงเรียนเพื่อป้องกันอุบัติภัยแก่นักเรียน  ซึ่งคณะครูอาจารย์ ของโรงเรียนได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์จำนวน  ๓๐,๐๐๐  บาท  เพื่อซื้อทรายถมสนามกีฬาและสร้างรั้วโรงเรียน นอกจากนี้โรงเรียนยังได้รับบริจาคทรัพย์ จากนายสรรเสริญ ภู่มะลิ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างถนน คสล. หน้าอาคารเรียน  แบบ  ๐๐๘
                .๒๕๔๔ ได้โอนนักเรียนชั้นอนุบาล    ขวบ  ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชุ้ง  โดยทางโรงเรียนให้การสนับสนุนด้านอาคารสถานที่ ด้านวิชาการ และอุปกรณ์อื่น ๆ สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                วันที่ ๒๗ ธันวาคม  .. ๒๕๔๔ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) ได้มอบศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศให้กับโรงเรียนวัดบ้านชุ้ง(อดุลประชาวิทย์) มีมูลค่า ๙๐๐,๐๐  บาท โดยมี นายปิยะ จงวัฒนา
ประธานกรรมการบริหารบริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) โดยมี ฯพณฯ สิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในพิธีรับมอบศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว และการบริจาคในครั้งนี้
นายเนรมิตร พลยุทธภูมิ วิศวกรด้านคอมพิวเตอร์ของบริษัท พัฒน์กล จำกัด ซึ่งมีความคุ้นเคยเป็นการส่วนตัวกับนายเฉลา  ศริ  ตำแหน่ง ครูโรงเรียนวัดบ้านชุ้ง(อดุลประชาวิทย์) เป็นผู้ติดต่อประสานงาน
                พ.ศ. ๒๕๔๘  กลุ่มบริษัท มินิแบ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมูลนิธิ ทาคาฮาชิ ได้บริจาคหนังสือพร้อมครุภัณฑ์และอุปกรณ์ ตามโครงการ เติมความรู้สู่ห้องสมุดโรงเรียน รวมมูลค่าทั้งสิ้น ๒๐๐,๐๐๐บาท
          พ.ศ. ๒๕๕๓  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบลรุ่นที่ ๒  ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เป็นโรงเรียนที่  ๒ ของอำเภอนครหลวง  ได้รับการจัดสรรงบประมาณ  ๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท
          พ.ศ. ๒๕๕๔  ปรับปรุงก่อสร้างโรงอาหาร(อาคารเอนกประสงค์)รื้อจากสถานที่เดิมโดยใช้เค้าโครงเดิมใช้งบประมาณโดยการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดบ้านชุ้ง(อดุลประชาวิทย์)  ศิษย์เก่า คณะครู ผู้ปกครอง  ชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สาธารณสุข อสม. ผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชุ้ง  เป็นเงิน ๖๕๐,๐๐๐  เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔
          พ.ศ. ๒๕๔๔ ปรับปรุงก่อสร้างโรงครัว ใช้เงินที่เหลือจากการทอดผ้าป่าเอการศึกษา เป็นเงิน ๙๕,๐๐๐  บาท
          พ.ศ. ๒๕๕๕ เปลี่ยนหลังคาอาคารเรียนแบบ ๐๐๘ เป็นสีน้ำเงินงบประมาณของ สพฐ.  ทำรางระบายน้ำ
ปูพื้นตัวหนอน  ทาสีอาคารเรียนใหม่  จัดทำที่จอดรถจักรยาน และจักรยานยนต์
          ปัจจุบันโรงเรียนวัดบ้านชุ้ง(อดุลประชาวิทย์) เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ (๔ ขวบ) ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  มีจำนวน  ๑๑  ห้องเรียน นักเรียนทั้งสิ้น ๒๖๙ คน จำนวนครู 16 คน วิทยากรภายนอก 1 คน (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) พนักงานบริการ 1 คน โดยมีนายถาวร  ทิพย์โสต เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น